วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Beautiful Flower Tattoos



Welcome To My Blog

- Flower Tattoo -

ผู้คนบางส่วนไม่ชอบการสัก แต่ผู้คนบางส่วนรักและหลงไหลในการสัก ซึ่งบางคนมองว่าการสักนั้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ไม่ได้สร้างขึ้นบนกระดาษ ฝาผนัง บนพื้น แต่ได้สร้างขึ้นบนร่างกายของมนุษย์

ผู้คนส่วนใหญ่ที่หลงไหลในการสัก ไม่ว่าจะเป็นการสักที่คอ แขน ขา หรือที่อื่นๆแม้กระทั้งสักทั้งตัว
บางคนใคร่จะรู้ว่า การสักนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร 

ในวันนี้เราจึงนำประวัติและความเป็นมาของการสักหรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า Tattoo มาให้ทุกท่าน
ได้รับชมกัน....


 - Flower Tattoo -


คำว่า Tattoo
        
แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ที่จริงแล้วคำว่า Tattoo ไม่ได้มีต้นกำเนิดหรือเกี่ยวข้องกับประเทศอังกฤษแม้แต่น้อย เพราะจากข้อมูลพบว่าคำว่า Tattoo มาจากคำว่า tatau ของชาวหมู่เกาะซามัว ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์

       
โดยเล่ากันว่ามีกะลาสีเรือเดินทางมายังมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ และได้พบกับชนเผ่าซามัว ที่คลั่งไคล้การสักเป็นอย่างมาก และได้เรียกการลงลวดลายต่างๆตามร่างกายว่า "tatau" แต่ดันมีความผิดพลาดด้านการสื่อสาร คำว่า "tatau" จึงเพี้ยนมาเป็น "tattoo" ในสมัยใหม่


Tattoo หรือรอยสักในภาษาไทย หมายถึง การตีหรือการเคาะซึ่งเกิดจากการสักด้วยเครื่องสัก หรืออาจใช้เข็มซึ่งมีด้ายร้อยเคลือบสีอยู่ แทงผ่านตามตำแหน่งที่ต้องสักลงไปที่ผิวหนังให้เป็นรูปต่างๆ


ส่วนความหมายของการ สักตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คือ การเอาเหล็กแหลม แทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็น อักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย การสักลวดลายบนผิวหนัง
       

ความเป็นมาของศิลปะการสักบนเรือนร่างมนุษย์นั้น มีการพบหลักฐานอ้างอิงหลายยุคหลายสมัย

ลักษณะของลายสักก็แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศนั้น และลายสักของแต่ละประเทศก็มีรูปแบบและวิธีการสักที่แตกต่างกัน แต่หน้าที่เหมือนกันคือ การสร้างสีสันลวดลายบนหนังมนุษย์โดยการทำให้ผิวหนังเปิดขึ้นเพื่อใส่สีเข้าไป หรือที่เราเรียกว่าการย้อมผิวหนัง



ส่วนหนึ่งพบว่าการสักเป็นพิธีปฏิบัติของชาวยูเรเซีย ตั้งแต่ยุคนีโอลีธอิคหรือสมัยที่มนุษย์รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินที่ทำขึ้นขณะเดียวกันก็พบร่องรอยการสักบนมัมมี่เช่นกัน




ในจีนสมัยราชวงศ์ฉินถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ( 221 ปีก่อนค.ศ.- ค.ศ. 220) ผู้ที่ถูกตัดสินว่าทำผิดกฎหมายบ้านเมืองขั้นรุนแรง จะถูกสักที่หน้าผาก เป็นการประจานความผิดที่ตนทำ ซึ่งจะเป็นมลทินติดตัวคนๆนั้น ไปตลอดชีวิต
       
ในญี่ปุ่น การสักเรียกว่า Irezumi ซึ่งมีความหมายว่าการเติมหมึก คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักจะประทับตาคนกลุ่มต่างๆ เพื่อแบ่งแยกเช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งเริ่มมีการสักแบบ Horibari ที่มักจะสักลวดลายต่างๆทั่วร่างกาย และเริ่มแพร่หลายในปี ค.ศ. 1750 โดยนิยมมากในหมู่ Eta ซึ่งเป็นกลุ่มคมฐานะชั้นต่ำที่สุด ลวดลายต่างๆมักเป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ตลอดจนเทพเจ้า ตามความเชื่อทางศาสนา และนิทานพื้นบ้านคำแนะนำในการสักลาย




ในกรีก การสักเป็นการทำสัญลักษณ์เฉพาะใบหน้าของทาส และ อาชญากร ต่อมาการสักเริ่มแพร่หลายในทวีปยุโรป ต่อมาประมาณ ค.ศ. 787 การสักบนใบหน้า ถือเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า

สำหรับในประเทศไทย การสัก หรือ สักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง แต่ถูกยกเลิกไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนที่หน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้กับผู้ต้องโทษจำคุก แต่ยกเลิกในปี พ.ศ. 2475 รวมทั้งการสักยันต์เป็นเหมือนเครื่องรางของขลังตามความเชื่อซึ่งการสักยันต์ถือว่าเป็นวัฒนธรรม อย่างหนึ่งของไทยที่มีมา ช้านาน 

 แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การสักตามความเชื่อโบ แล้ว ส่วนใหญ่จึงเหลือการสักเพื่อความสวยงามหรือเรียกว่า Tattoo...

 
 - Flower Tattoo -

สาระเสริมเล็กๆน้อยๆ

ประเภทของการสัก

§ แฟนตาซี สไตล์ - ผสมหลายรูปแบบ เป็นภาพในจินตนาการ เทพนิยาย
§ ไทรบอล สไตล์ - เป็นลวดลาย เช่นเถาวัลย์ ใบไม้ หรือลายกราฟิก
§ ยุโรป สไตล์ - เป็นภาพเหมือนลงแสงเงา คล้ายกับภาพเหมือนบุคคล
§ เจแปน สไตล์ - มีลวดลายที่บ่งบอกความเป็นตะวันออก เช่น ปลาคาร์พ มังกร
§ เวิร์ด สไตล์ - มีตัวอักษรที่มีความหมาย หรือไม่มีความหมายก็ได้ บางทีก็อ่านไม่รู้เรื่อง
   เช่นงานแนวแอมบิแกรม
§ ไกเกอร์ สไตล์ - ลวดลายนามธรรม รวมถึงเฉพาะกลุ่มเช่นฮิปฮอป
§ พังค์ สไตล์ - ลายสักไม่เน้นสีสัน ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ
§ ฮาร์ดคอร์ สไตล์ - ใกล้เคียงกับ พังค์ สไตล์แต่จะมีความเหมือนจริงมากกว่า
§ อินดี้ สไตล์ - ไม่มีแนวทางชัดเจน ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว


 สุดท้ายนี้

ขอนำเสนอ

Tattoo รูปดอกไม้สวยๆซึ่งเป็นแนว  ไทรบอล สไตล์







                                                   









 THE END.
 











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น